ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคมโตต่อเนื่อง
ยอดขายรวมเกือบ 9 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 9.1%
ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม 2565 มีปริมาณการขาย 87,245 คัน เพิ่มขึ้น 9.1% ทั้งนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 1.4% ในขณะที่ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ยังคงเติบโตต่อเนื่องที่ 15.4% เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มากยิ่งขึ้น เพราะอาการป่วยของโรคลดความรุนแรงลง ประกอบกับประชากรในประเทศฉีดวัคซีนป้องกันผลกระทบจากการติดเชื้อมากขึ้น รวมถึงการดำเนินชีวิตภายใต้มาตรการที่รัฐบาลกำหนดได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ยังมีผลพ่วงที่ดี ส่งให้ตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายนและตลอดไตรมาสสอง มีแนวโน้มเติบโตต่อด้วยเช่นกัน เพราะการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งนี้ กระตุ้นการซื้อของผู้บริโภคมียอดจอง โดยรวมทั้งงานทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ประมาณ 30,000 กว่าคัน เงินสะพัด 30,000 กว่าล้านบาท ซึ่งภายในงานผู้ประกอบการได้ยอดจองจากการจัดแสดงในครั้งนี้อย่างดี และทุกบริษัทต้องเร่งการผลิต เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามกำหนด
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมีนาคม 2565
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 87,245 คัน เพิ่มขึ้น 9.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 29,997 คัน เพิ่มขึ้น 34.7% ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 21,801 คัน เพิ่มขึ้น 24.4% ส่วนแบ่งตลาด 25.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 10,009 คัน ลดลง 2.8% ส่วนแบ่งตลาด 11.5%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 29,771 คัน ลดลง 1.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,795 คัน เพิ่มขึ้น 50.2% ส่วนแบ่งตลาด 29.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 8,326 คัน ลดลง 7.0% ส่วนแบ่งตลาด 28.0%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,602 คัน ลดลง 6.6% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 57,474 คัน เพิ่มขึ้น 15.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 21,801 คัน เพิ่มขึ้น 24.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 21,202 คัน เพิ่มขึ้น 25.5% ส่วนแบ่งตลาด 36.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,858 คัน ลดลง 6.5% ส่วนแบ่งตลาด 5.0%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 46,363 คัน เพิ่มขึ้น 21.7%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 20,324 คัน เพิ่มขึ้น 28.6% ส่วนแบ่งตลาด 43.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 18,989 คัน เพิ่มขึ้น 31.5% ส่วนแบ่งตลาด 41.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,844 คัน ลดลง 5.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.1%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 5,770 คัน โตโยต้า 2,607 คัน - อีซูซุ 1,947 คัน – มิตซูบิชิ 749 คัน – ฟอร์ด 310 คัน – นิสสัน 157 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 40,593 คัน เพิ่มขึ้น 25.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 18,377 คัน เพิ่มขึ้น 32.1% ส่วนแบ่งตลาด 45.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 16,382 คัน เพิ่มขึ้น 38.2% ส่วนแบ่งตลาด 40.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,469 คัน ลดลง 10.7% ส่วนแบ่งตลาด 6.1%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มีนาคม 2565
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 231,189 คัน เพิ่มขึ้น 19.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 77,144 คัน เพิ่มขึ้น 37.9% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 57,420 คัน เพิ่มขึ้น 16.6% ส่วนแบ่งตลาด 24.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 25,624 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 11.1%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 75,726 คัน เพิ่มขึ้น 16%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,336 คัน เพิ่มขึ้น 40.2% ส่วนแบ่งตลาด 26.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 19,896 คัน ลดลง 6.8% ส่วนแบ่งตลาด 26.3%
อันดับที่ 3 มาสด้า 6,705 คัน เพิ่มขึ้น 4.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.9%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 155,463 คัน เพิ่มขึ้น 20.6%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 57,420 คัน เพิ่มขึ้น 16.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 56,808 คัน เพิ่มขึ้น 37.1% ส่วนแบ่งตลาด 36.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 8,567 คัน เพิ่มขึ้น 16.0% ส่วนแบ่งตลาด 5.5%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 122,772 คัน เพิ่มขึ้น 23.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 53,156 คัน เพิ่มขึ้น 17.1% ส่วนแบ่งตลาด 43.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 50,089 คัน เพิ่มขึ้น 44.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 8,524 คัน เพิ่มขึ้น 19.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 16,256 คัน โตโยต้า 7,765 คัน - อีซูซุ 4,932 คัน - มิตซูบิชิ 2,140 คัน – ฟอร์ด 1,097 คัน – นิสสัน 322 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 106,516 คัน เพิ่มขึ้น 26.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 48,224 คัน เพิ่มขึ้น 19.9% ส่วนแบ่งตลาด 45.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 42,324 คัน เพิ่มขึ้น 50.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 6,384 คัน เพิ่มขึ้น 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.0%