ตลาดรถกระบะเดือนกันยายนวูบ

ยอดตกจากเดือนเดียวกันของปี 66 กว่า 40.1%

 

ตลาดรถยนต์เดือนกันยายนเติบโตลดลง 37.1% คิดเป็นยอดการขายที่ 39,048 คัน ตลาดรถยนต์นั่งมีสัดส่วนการขาย 15,668 คัน ลดลง 38.4% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 23,380 คัน ลดลง 36.2% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขาย 13,972 คัน ลดลงถึง 40.1% ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ขาย 11,509 คันลดลง 39.8% ในส่วนของรถยนต์ HEV มีอัตราการเติบโตลดลงเช่นกันที่ 11% แต่ยังคงสัดส่วนการขายสูงที่สุดในตลาดรถ xEV ด้วยยอด 7,355 คัน คิดเป็น 56% ของตลาดรวม ส่วนรถยนต์ BEV ยอดได้ 4,982 คัน ลดลง 32% เมื่อเทียบกัน

รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2567 นับว่ายอดขายลดลงทุกเซ็กเมนต์ เนื่องจากเศรษฐกิจโดยรวม และผลกระทบจากอุทกภัย รวมทั้งปัญหาความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อให้ผู้ซื้อรถยนต์ เป็นหนี้ประเภทต้องจับตา (SM) อยู่ในระดับ 208,575 ล้านบาท ในขณะที่หนี้เสียรถยนต์อยู่ที่ 259,330 ล้านบาท การชะลอตัวครั้งนี้ ส่งผลให้โรงงานประกอบลดปริมาณการผลิตลง เพื่อรักษาสมดุลของตลาด เป็นชนวนให้รอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ในโรงงานยานยนต์ ปรับลดเวลาทำงานสักระยะนึงแล้ว

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์, ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน และตลาดรถกระบะ Pure Pick up ยอดลดลงอย่างมีนัยยะ มีผลกระทบค่อนข้างหนัก เห็นได้ชัดเจน ถึงตัวเลขที่ตกต่ำอย่างมาก โดยเราพิจารณาจากยอดใน 3 ลำดับแรก คือ

ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 23,380 คัน ลดลง 36.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า  10,619 คัน ลดลง 5.3% ส่วนแบ่งการตลาดที่ 45.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,080 คัน ลดลง 44.2% ส่วนแบ่งการตลาดที่ 26%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,374 คัน ลดลง 53.4% ส่วนแบ่งการตลาดที่ 5.9%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 13,972 คัน ลดลง 40.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,488 คัน ลดลง 32% ส่วนแบ่งการตลาด 46.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,101 คัน ลดลง 45.1% ส่วนแบ่งการตลาด 36.5%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,374 คัน ลดลง 53.4% ส่วนแบ่งการตลาด 9.8%

**ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง 2,463 คัน อีซูซุ 949 คัน , โตโยต้า 798 คัน , ฟอร์ด 574 คัน , มิตซูบิชิ 97 คัน  และนิสสัน 45 คัน)

ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 11,509 คัน ลดลง 39.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,690 คัน ลดลง 28.3% ส่วนแบ่งการตลาด 49.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 4,152 คัน ลดลง 47.8% ส่วนแบ่งการตลาด 36.1%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด  800 คัน ลดลง 60.2% ส่วนแบ่งการตลาด 7%

 

สำหรับยอดขายสะสม เดือนมกราคม – กันยายน 2567 มีสัดส่วนลดลงดังนี้

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 268,797 คัน ลดลง 26.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 118,395 คัน ลดลง 2.9% ส่วนแบ่งการตลาด 44%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 65,269 คัน ลดลง 45.7% ส่วนแบ่งการตลาด 24.3%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 24,330 คัน ลดลง 6.3% ส่วนแบ่งการตลาด 9.1%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 153,504 คัน ลดลง 40%

อันดับที่ 1 โตโยต้า  70,632 คัน ลดลง 29.5% ส่วนแบ่งการตลาด 46%

อันดับที่ 2 อีซูซุ  56,812 คัน ลดลง 47.5% ส่วนแบ่งการตลาด 37%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 16,104 คัน ลดลง 44% ส่วนแบ่งการตลาด 10.5%

**ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง 26,944 คัน   โตโยต้า 9,534  คัน ,อีซูซุ 9,196 คัน ฟอร์ด 6,138 คัน , มิตซูบิชิ 1,753  คัน  และนิสสัน 323 คัน)

ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 126,560 คัน ลดลง 39.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 61,098 คัน ลดลง 26.4% ส่วนแบ่งการตลาด 48.3%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 47,616 คัน ลดลง 48% ส่วนแบ่งการตลาด 37.6%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด  9,966 คัน ลดลง 48.9% ส่วนแบ่งการตลาด 7.9%

ทั้งนี้เดือนตุลาคม น่าจะมีอัตราการเติบโตดีขึ้นกว่าเดือนที่ผ่านมา แม้ว่าจะยังคงมีผลพ่วงจากเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อุทกภัย และอัตราดอกเบี้ย เพราะผู้ประกอบการอัดแคมเปญและโปรโมชั่นส่งเสริมการขายของค่อนหนัก