โตโยต้าเผยแผนงานเต็มคาราเบล ทิ้งท้ายปลายปี 2022
16-18 ธันวาคม ณ สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต บุรีรัมย์
โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จัดฉลองครบรอบ 60 ปีอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมแสดงความขอบคุณต่อทุกภาคส่วน ผู้มีส่วนร่วมในความสำเร็จ ยืนยันการขับเคลื่อนอนาคตและความสุขของผู้คน เดินเครื่องผลักดันนวัตกรรมการขับเคลื่อนยุคหน้า สนองทุกรูปแบบของความสุขในการเดินทางเพื่อร่วมเติมเต็มเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” พร้อมจัดอีเว้นต์ใหญ่ ผนึกทุกแม่เหล็ก นิทรรศการความเป็นกลางทางคาร์บอน มอเตอร์สปอร์ตประจำ TOYOTA GAZOO Racing Motorsport และการส่งทีมแข่งROOKIE RACING นำรถยนต์พลังงานไฮโดรเจน ร่วมเข้าแข่งขัน Idemetsu 1500 SUPER ENDURANCE 2022 (25 hour) เป็นการส่งท้ายปลายปี 2022 ที่ตระการตาเป็นอย่างยิ่ง ระหว่าง 16-18 ธันวาคม 2565 ที่สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต บุรีรัมย์
กิจกรรมยิ่งใหญ่นี้เป็นการเฉลิมฉลองการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยอย่างยาวนานถึง 60 ปี มร.อากิโอะ โตโยดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้มาเยือนประเทศไทย พร้อมตอกย้ำสัมพันธภาพอันดีกับประเทศไทยไปอีกนาน พร้อมฉายวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย จะก้าวพัฒนาและนำนวัตกรรมใหม่ๆมาขับเคลื่อนอนาคต พร้อมร่วมเติมเต็มเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้จัดงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่และเป็นทางการไป เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา จากนั้นได้ลิงก์กิจกรรมดังกล่าวมาที่สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต บุรรัมย์ ในวันที่ 16-18 ธันวาคม 2565
ความเป็นกลางทางคาร์บอน
ด้วยการเชิญสื่อมวลชนราว 100 สื่อ เพื่อชมนิทรรศการ “TOYOTA มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี คศ.2050” ทั้งนี้เพื่อสืบทอดนโยบายที่ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคารืบอนต่อประชาคมโลกภายใต้กรอบของเป้าหมายการพัฒนาที่นั่งยืนหรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ซึ่งประกอบไปด้วย
1. กระบวนการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดจนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Activities) เริ่มจาก Green Purchase แนวปฎิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ผลิตชิ้นส่วนโตโยต้า VEHICLE MANUFACTURING โรงงานแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอนปรับปรุงและมีนวัตกรรมเพื่อลดคาร์บอนอย่างต่อเนื่อง โดยใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ และมีการปลูกป่าเพื่อดูดซับคาร์บอน LOGISTICS วางแผนการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้รถบรรทุกสินค้าร่วมกับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ DRIVING เชื่อมการขับเคลื่อนแห่งอนาคต ด้วย T-Connect , กำหนดแนวทางปฎิบัติสำหรับโชว์รูมและศูนย์บริการ (ECO SMART DEALER) ส่วนถัดมาคือนวัตกรรมระบบส่งกำลังของผลิตภัณฑ์ PODUCT POWERTRAIN INNOVATION ต้องพัฒนาอย่างมีขั้นตอน คือ HEV- PHEV- BEV- FCEV สุดท้ายคือระบบการจัดการซากรถยนต์อย่างถูกวิถีและเป็นมิตรค่อสิ่งแวดล้อม RECYCLING
2. กลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (Mass Electrification) เดินทางในหลากหลายรูปแบบเพื่อสู่เป้าหมาย (Multiple Pathway Taward Carbon Neutrality) จะเริ่มดำเนินการทำที่พัทยาให้เป็น Sandbox ดังนี้คือ
1. รูปแบบการเดินทางที่หลากหลาย
1.1 ระยะสั้น (Last Miles) รถที่ให้บริการ BEV จำนวน 10 คัน ระยะทางวิ่ง 80 กม.จุดให้บริการ Hard Rock Hotel Pataya โดยจองผ่าน HAUP Application ( คศ.2024)
1.2 ระยะกลาง (Multi Travelling) รถที่ให้บริการ HEV 10 คัน, PHEV 3 คัน และ BEV 2 คัน
ระยะวิ่ง HEV 600 กม., PHEV 1,029 กม. (รวมน้ำมัน) และ BEV ระยะทางวิ่ง 450 กม. จุดให้บริการ Hard Rock Hotel Pataya , Dusit Thani and Pullman โดยจองผ่าน HAUP Application ( คศ.2024)
1.3 ระยะไกล (Long Range Service) ให้บริการ FCCEV 2 คัน ระยะวิ่ง 850 กม. จุดบริการสนามบินอุ่ตะเภา วิธีจอง U-tapoa airport limousine website
1.4 รถสาธารณะเมืองพัทยา (Fixed Route) รถที่ให้บริการ BEV กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาจะเปิดทดลองให้บริการได้ในปี 2567-2568
2. โครงสร้างพื้นฐานการเติมพลังงาน (Infrastruture Network) การชาร์ตแบบปกติ AC คุณสมบัติ AC7.4 kw ใช้งานผ่าน RFID Card จำนวน 8 เครื่อง จุดติดตั้ง Hard Rock Hotel , The Sky Gallerly ,The Oxegen , การชาร์จแบบเร็ว DC ลงทุนโดยโตโยต้ากับพันธมิตร คุณสมบัติ DC 100 kw ใช้พลังงานจาก Solar Cell 1 เครื่อง จุดติดตั้งผู้แทนจำหน่าย , สถานีเติมไฮโดรเจน การลงทุนโตโยต้าร่วมกับพันธมิตร โดยมีคุณสมบัติ ความดันที่ใช้ในการเติม 700 bar จำนวน 1 เครื่อง จุดติดตั้ง PTT NGV Station (บางละมุง)
3. พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar)
3.1 พลังงานแสงอาทิตย์จากผู้แทนจำหน่ายและพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้าน Solar
3.2 ก๊าซไฮโดรเจน (Hydrogen) ปัจจุบันมีก๊าซไฮโดรเจนที่เหลือจากกระบกวนการผลิตปิโตรเคมีจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตพด โดยมีปริมาณ 100,000 กอิลโลกรัมต่อวัน หรือเท่ากับการใช้ในการเติมรถยนต์ Toyota Mirai 22,000 คัน
โตโยต้าและซีพี ร่วมมือผนึกกำลังพันธมิตร เพื่อศึกษาแนวทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย
วิสัยทัศน์ มร.อากิโอะ โตโยดะ ก้าวไกลมากทีเดียว และเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมากกับการเดินทางสู่เส้นทางความเป็นกลางทางคาร์บอน นอกจากนี้ยังประสานพันธมิตรยักษ์ใหญ่ในเมืองไทย อย่าง ซีพี เพื่อศึกษาแนวทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย สรรหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ
“ทั้งสองบริษัทฯ ต่างคำนึงถึงประเทศไทยและโลกใบนี้ ได้เห็นร่วมกันที่จะดำเนินการในสิ่งที่เราสามารถเริ่มต้นทำได้ในขณะนี้ โดยอาศัยจุดแข็งและทรัพยากรที่มีอยู่ของแต่ละบริษัทฯ ผมเชื่อว่าการริเริ่มในครั้งนี้ จะนำไปสู่การยอมรับและสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม” นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสของ ซีพี ได้กล่าวตอบว่า “โตโยดะและผม มีร่วมกันคือ ความรู้สึกที่ต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดินไทย ผมรู้สึกยินดีที่ทั้งสองบริษัทฯ มีโอกาสร่วมมือกันเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย และยังเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนมาช่วยกันศึกษา หาแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้”
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซีพี และ โตโยต้า จะแสวงหาความร่วมมือทางสังคม ด้วยการเชื่อมโยงกันระหว่างสองบริษัทฯ เราจะช่วยกันดำเนินการในสิ่งที่สามารถทำได้ในขณะนี้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนกระบวนการผลิต การขนส่ง และการใช้พลังงาน เพื่อนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายใต้กรอบความร่วมมือดังนี้
1. ศึกษาการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้ก๊าซชีวภาพที่ได้จากของเสียจากฟาร์มในประเทศไทย (การศึกษาในเขตเศรษฐกิจพิเศษ)
2. การใช้รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ในกิจกรรมของ ซีพี ซึ่งจะใช้ไฮโดรเจนดังกล่าว (นำเสนอแนวทางที่หลากหลาย เช่น BEV และ FCEV โดยพิจารณาจากระยะการเดินทางและน้ำหนักบรรทุก)
3. ศึกษาความร่วมมือด้านการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ โดยอาศัย เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเส้นทางการจัดส่ง
ความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ ทรู ลิสซิ่ง ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซีพี ที่ให้บริการด้านการขนส่ง จะเข้าร่วมกับโตโยต้า ที่จะเริ่มพิจารณาจากการมีส่วนร่วมของ Hino Motors, Ltd. และกลุ่มบริษัทใน Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (ประกอบด้วย ISUZU Motors Limited, SUZUKI Motor Corporation, DAIHATSU Motor Co., Ltd. และ TOYOTA) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแก้ปัญหาความท้าทายที่ภาคการขนส่งต้องเผชิญ และบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านการเผยแพร่เทคโนโลยี CASE ในภูมิภาคเอเชียและการมุ่งสู่เป้าหมายนั้น ทุกอุตสาหกรรมและประชาชนทุกคนควรทำงานร่วมกัน ซีพี และ โตโยต้า จึงอยากเชิญทุกภาคส่วนที่มีความปรารถนาเดียวกัน เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในความร่วมมือครั้งนี้
รถยนต์แห่งอนาคต IMV / BEV Concept
ภายในงาน ยังได้มีการจัดแสดงประวัติของโตโยต้าและบทบาทของโครงการ IMV (Innovative International Multi-purpose Vehicles) ที่มีต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปสู่ตลาดโลก และเพื่อเป็นการสานต่อบทบาทของประเทศไทยในฐานะ 'ดีทรอยต์แห่งเอเชีย' และ 'เมืองหลวงศูนย์กลางรถกระบะโลก' พร้อมทั้งนำเสนอทางเลือกในการเดินทางสำหรับชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โตโยต้าได้ทำการเปิดตัวต้นแบบของรถกระบะอเนกประสงค์ภายใต้ชื่อ “IMV-0 Concept” ที่มุ่งเน้นความสะดวกในการปรับรูปแบบการใช้งานเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายของลูกค้าชาวไทย มาให้รับชมเป็นครั้งแรก ณ โอกาสนี้ด้วย
มร. อากิโอะ โตโยดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า “วันนี้ ผมขอขอบคุณทุกท่านจากใจจริง โตโยต้าได้เติบโตในประเทศไทยโดยมีคนไทยทุกท่านเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราได้มีโอกาสได้เฉลิมฉลองในวันนี้ สำหรับตัวผมเอง มันไม่ใช่เรื่องของ จำนวนยอดขายรถที่เราทำได้ที่นี่ สิ่งที่เราต้องการมอบให้ประเทศนี้มีมากกว่าแค่รถยนต์ เช่น การช่วยสนับสนุนโอกาสทางเศรษฐกิจ ดังเช่น ความตั้งใจที่เราเลือกให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถรุ่นใหม่ระดับโลกภายใต้โครงการไอเอ็มวี”
“การแนะนำรถกระบะไฮลักซ์ วีโก้ภายใต้โครงการไอเอ็มวียังคงเป็น ความทรงจำที่ผมประทับใจมากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตการทำงานของผม เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ ผมจึงตัดสินใจที่จะสร้างรถไอเอ็มวีแบบใหม่ เพื่อให้เป็นรถกระบะสำหรับประเทศไทย ได้แก่รถต้นแบบใหม่ล่าสุด IMV 0 และ รถต้นแบบไฮลักซ์ รีโว่ ที่มาในระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า ทั้งสองรุ่นนี้ แสดงถึงแง่มุมที่แตกต่างในเชิงยนตรกรรม ซึ่งตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันและเหมาะกับลูกค้าคนละกลุ่ม รุ่นหนึ่งถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนอีกรุ่นถูกพัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริม การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน และรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น”
“เมื่อเอ่ยถึงการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน เราต้องเข้าใจว่า คาร์บอนคือศัตรูตัวจริง ไม่ใช่ระบบส่งกำลังแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ ว่ากันตามตรงแล้วรถยนต์พลังงานไฟฟ้าไม่ใช่แค่ทางเลือกเดียว ที่จะช่วยบรรลุเป้าหมายในระดับโลก ที่โตโยต้า เราเชื่อในการสร้างสรรค์รถยนต์ให้ครบทุกประเภท เพื่อเป็นทางเลือกในการช่วยลดคาร์บอนสำหรับลูกค้าของเรา ตั้งแต่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบไฮบริด รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด รถยนต์พลังงานไฟฟ้า รวมถึง รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง นอกจากนั้นเรายังมุ่งพัฒนา ทางเลือกอื่นๆ ที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน อย่าง GR-Yaris และ GR-Corolla ซึ่งเป็นรถต้นแบบที่ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน ผมยังคงเชื่อว่า ในขณะที่เราพยายามเดินหน้าสร้างอนาคตที่ยั่งยืนเราจำเป็นต้องใช้แนวทางแบบ องค์รวมเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนร่วมกัน”
“เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน เราจำเป็นต้องดำเนินงานร่วมกับอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วย ดังนั้น ในวันนี้ผมจึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะประกาศแนะนำพันธมิตรใหม่ของเราคือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยนั่นคือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดยเราจะร่วมมือกันในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ โดยคิดทบทวนถึงวิธีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภค ด้วยเทคโนโลยีที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์อย่างรถบรรทุกเซลล์เชื้อเพลิง และด้วยการพัฒนาให้ระบบการขนส่งด้วยรถยนต์ประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการเชื่อมต่อของเรา นอกจากนั้นแล้ว ภายใต้ความร่วมมือนี้ เราจะยกระดับความพยายามของซีพีในปัจจุบันในการผลิตไฮโดรเจนสะอาดจากชีวมวล เช่น มูลไก่ อีกด้วย ผมตั้งตารอที่จะได้ร่วมกับซีพี นำจุดแข็งที่เรามีอยู่ร่วมกันเพื่อสร้างประโยชน์แก่ประเทศและผู้คนให้มากยิ่งขึ้น”
”และผมก็ยินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่า พันธมิตรในครั้งนี้ประกอบด้วยสมาชิกอื่น ๆ ของบริษัท Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) ประกอบไปด้วย ไดฮัทสุ ซูซูกิ อีซูซุ และฮีโน่ โดยบริษัท CJPT ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาการขับเคลื่อนแห่งอนาคตโดยความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมของเรา เราชักชวนคู่แข่งให้มาร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง และเฟ้นหาความเป็นไปได้ในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ร่วมกัน”
“ผมอยากขอขอบคุณทุกท่านในฐานะสมาชิกคนสำคัญของครอบครัวโตโยต้าในระดับโลก เมื่อเราร่วมมือกัน ผมเชื่อว่าทุกอย่างก็จะเป็นไปได้ เราจะสามารถช่วยทำให้โลกใบนี้เป็นที่ที่ดียิ่งขึ้นและค่อยๆ เพิ่มรอยยิ้มไปด้วยกัน”
TOYOTA GAZOO RACING MOTORSPORT 2022
สนามนี้ซึ่งเป็นสนามที่ 5 สนามสุดท้ายของการแข่งขันประจำปี 2565 นี้ สนามนี้ได้ผลการแข่งขัน Toyota Gazoo Racing Motorsport 2022 สนามที่ 5 สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์
Toyota Yaris One Make Race : Division 1
อันดับที่ 1 นิพิฐพนธ์ วัฒนานิตย์ หมายเลข 39 - PMC52
อันดับที่ 2 เกียรติพรรณ ไผ่เจริญ หมายเลข 3 - 333 CJ โชว์จุ่ง ลูกหมาก
อันดับที่ 3 อัครวุฒิ มังคลสุต หมายเลข 10 - Toyota Racing Star Team
อันดับที่ 4 นรรัศมิ์ อภิวาท หมายเลข 25 - Nexkart ATP 888Carwash by DT Motorsport
อันดับที่ 5 อดิศักดิ์ ตั้งพูลเจริญ หมายเลข 26 จากทีม B-QUIK
Toyota Yaris One Make Race : Division 2
อันดับที่ 1 อเล็กซ์ โกรคอทท์ หมายเลข 57- Hin Speed Mortorsport
อันดับที่ 2 นครินทร์ นิ่มนวล หมายเลข 20 - Nexzter Rest Club by TKS Motorsport
อันดับที่ 3 สหรัฐ กั้วนามน หมายเลข 41 - X plus
อันดับที่ 4 รัฐพงษ์ วัฒนาพร หมายเลข 88 - YK Mortorsports
อันดับที่ 5 คมกฤษ งามพิเชษฐ์ หมายเลข 8 - YK Mortorsports
Toyota Vios Lady One Make Race
อันดับที่ 1 สิตาวีร์ ลิ้มนันทรักษ์ หมายเลข 193 - Nexzter Singha Sittipol
อันดับที่ 2 กมลชนก บุญคร่ำ หมายเลข 199 - Sittipol Group
อันดับที่ 3 ปิยะวดี พฤฒิสาร หมายเลข 135 - Kaizo Nexzter Pertamina Racing Team by RUK Services
อันดับที่ 4 สาวิตรี กวางแก้ว หมายเลข 138 - IDEMITSU Racing Team Thailand
อันดับที่ 5 Iris Hufshmidt หมายเลข 114 - Hype Superclub Racing
Toyota Hilux Revo One Make Race
อันดับที่ 1 อรุณพงศ์ ศรีฤทธิ์ หมายเลข 44 - Van Garage
อันดับที่ 2 นิรุทธ์ สุจริต หมายเลข 19
อันดับที่ 3 ปัณฑ์นลิน ทวยเดช หมายเลข 28 - Kaizo Nexzter Pertamina by RUK Service
Toyota Corolla Altis GR Sport One Make Race
อันดับที่ 1 เคนทาโร ชิบะ หมายเลข 3
อันดับที่ 2 ณ ดล วัฒนธรรม หมายเลข 23 - Sittipol
อันดับที่ 3 อัฐพล แก้วอาษา หมายเลข 26 - B-Quik
อันดับที่ 4 พฤฒิพงษ์ ลีฬหนันท์ หมายเลข 68 จากทีม Drive 68
อันดับที่ 5 สุรศักดิ์ ดาเก็ง หมายเลข 19 จากทีม Kaizo nexzter Pertamina By RUK Services
ROOKIE Racing สร้างปรากฏการณ์ใหม่วงการมอเตอร์สปอร์ตไทย
มร.อากิโอะ โตโยดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอ เรชัน ประเทศญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งทีมแข่ง ROOKIE Racing และนักแข่งผู้ใช้ชื่อในการแข่งขันว่า “MORIZO” นำนักแข่งทีม ROOKIE Racing เข้าร่วมการแข่งขันรายการ IDEMITSU 1500 SUPER ENDURANCE 2022 ด้วยรถต้นแบบ ORC ROOKIE GR Corolla H2 concept ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน และรถต้นแบบ ORC ROOKIE GR86 CNF Concept ที่ใช้เชื้อเพลิงซึ่งมีความเป็นกลางทางคาร์บอน (CN) ท่ามกลางความตื่นเต้นของคณะสื่อมวลชน และสายตาของผู้ชมรอบสนาม รวมทั้งผู้ชมทางบ้านผ่าน Facebook Live Streaming : TOYOTA GAZOO Racing Motorsport Thailand
สำหรับปีนี้ ทีมแข่ง ROOKIE Racing และโตโยต้า ได้หวนคืนสู่สังเวียนศึกอีกครั้ง หลังจากที่ห่างหายไปนาน 3 ปี โดยส่งรถเข้าร่วมแข่งขันภายใต้สภาวะที่แตกต่างจากในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ความร่วมมือของพันธมิตรในประเทศไทย นั่นคือ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (BIG) ด้วยการสนับสนุนพลังงานไฮโดรเจนสำหรับการแข่งขัน ตลอดจนรถเทรลเลอร์เพื่อขนส่งไฮโดรเจนไปยังสนามแข่งอีกด้วย
ผลการแข่งขันประเภท รถขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงพลังงานที่เป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutral Power Cup
อันดับ 1 รถต้นแบบ รุ่น GR86 ที่ใช้เชื้อเพลิงซึ่งเป็นกลางทางคาร์บอน หมายเลข S22 จากทีมToyota Gazoo Racing Team Thailand (443 รอบ)
อันดับ 2 รถต้นแบบ รุ่น GR86 ที่ใช้เชื้อเพลิงซึ่งเป็นกลางทางคาร์บอน หมายเลข S28 จากทีม ORC ROOKIE Racing (230 รอบ)
อันดับ 3 รถต้นแบบ รุ่น GR Corolla พลังงานไฮโดรเจน หมายเลข S32
จากทีม ORC ROOKIE Racing (152 รอบ)
การเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของเครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจน และพลังงานเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ยั่งยืนจากชีวมวลในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ยังตอกย้ำความมุ่งมั่นของโตโยต้าที่จะขยาย และเร่งพัฒนาทางเลือกของเทคโนโลยีด้านการขับเคลื่อน ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนสู่ทวีปเอเชียผ่านกีฬามอเตอร์สปอร์ต
ทั้งหมด ทั้งมวลคือวิสัยทัศน์และการศึกษาเพื่อเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น แจแปน และ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย