ตลาดรถยนต์พฤษภาคมสวนกระแสราคาน้ำมัน
ยอดขายรวม 64,735 คัน โต 15.7%
รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2565 มีตัวเลขการขายรวมทั้งสิ้น 64,735 คัน เพิ่มขึ้น 15.7% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 20,084 คัน เพิ่มขึ้น 29% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 44,651 คัน เพิ่มขึ้น 10.6% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 33,822 คัน เพิ่มขึ้น 6.4%
ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคมมีปริมาณการขาย 64,735 คัน เพิ่มขึ้น 15.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 29% ส่วนตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโตเช่นเดียวกันที่ 10.6% เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตในการประกอบอาชีพและกิจกรรมทางเศรษฐกิจจนเกือบเป็นปกติ แม้จะมีปัจจัยลบที่สำคัญคือสถานการณ์ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีความต้องการใช้รถยนต์ของผู้บริโภคที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์นั่งซึ่งมีความจำเป็นในการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคระบาด โควิด-19
ตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนมีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง จากความมั่นใจของผู้บริโภคที่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวม และสะท้อนไปยังตลาดรถยนต์ด้วยเช่นกัน โดยสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลที่ส่วนใหญ่ใช้ในภาคขนส่งจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันเบนซินที่ส่วนใหญ่ใช้ในรถยนต์ส่วนบุคคล ส่งผลให้ต้นทุนในการเดินทางของประชาชนสูงขึ้น แต่ก็ไม่อาจหยุดความต้องการใช้รถยนต์ของผู้บริโภค ภายใต้ปัจจัยเสริมที่สำคัญคือข้อเสนอพิเศษที่ทำให้การเป็นเจ้าของรถยนต์ในปัจจุบันเป็นเรื่องง่าย เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2565
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 64,735 คัน เพิ่มขึ้น 15.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 22,181 คัน เพิ่มขึ้น 12.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 15,728 คัน เพิ่มขึ้น 5.8% ส่วนแบ่งตลาด 24.3%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 5,035 คัน เพิ่มขึ้น 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,084 คัน เพิ่มขึ้น 29%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,773 คัน เพิ่มขึ้น 19.7% ส่วนแบ่งตลาด 28.7%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,191 คัน ลดลง 27.1% ส่วนแบ่งตลาด 15.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,077 คัน เพิ่มขึ้น 76.5% ส่วนแบ่งตลาด 10.3%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 44,651 คัน เพิ่มขึ้น 10.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 16,408 คัน เพิ่มขึ้น 9.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 15,728 คัน เพิ่มขึ้น 5.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,637 คัน เพิ่มขึ้น 19.1% ส่วนแบ่งตลาด 5.9%
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 33,822 คัน เพิ่มขึ้น 6.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 14,192 คัน เพิ่มขึ้น 5.9% ส่วนแบ่งตลาด 42.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 13,909 คัน เพิ่มขึ้น 11.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,604 คัน เพิ่มขึ้น 19.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,585 คัน โตโยต้า 2,048 คัน - อีซูซุ 1,297 คัน – มิตซูบิชิ 702 คัน – ฟอร์ด 435 คัน – นิสสัน 103 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,237 คัน เพิ่มขึ้น 5.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 12,895 คัน เพิ่มขึ้น 5.2% ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 11,861 คัน เพิ่มขึ้น13.0% ส่วนแบ่งตลาด 40.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,902 คัน เพิ่มขึ้น 9.7% ส่วนแบ่งตลาด 6.5%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2565
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 359,351 คัน เพิ่มขึ้น 16.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 121,006 คัน เพิ่มขึ้น 27.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 89,743 คัน เพิ่มขึ้น 13.5% ส่วนแบ่งตลาด 25.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 35,766 คัน เพิ่มขึ้น 1.1% ส่วนแบ่งตลาด 10.0%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 116,302 คัน เพิ่มขึ้น 18.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 33,010 คัน เพิ่มขึ้น 35.9% ส่วนแบ่งตลาด 28.4%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 27,056 คัน ลดลง 10.3% ส่วนแบ่งตลาด 23.3%
อันดับที่ 3 มาสด้า 10,151 คัน เพิ่มขึ้น 11.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 243,049 คัน เพิ่มขึ้น 15.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 89,743 คัน เพิ่มขึ้น 13.5% ส่วนแบ่งตลาด 36.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 87,996 คัน เพิ่มขึ้น 24.7% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 13,545 คัน เพิ่มขึ้น 11.4% ส่วนแบ่งตลาด 5.6%
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 190,223 คัน เพิ่มขึ้น 16.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 82,799 คัน เพิ่มขึ้น 14.3% ส่วนแบ่งตลาด 43.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 76,603 คัน เพิ่มขึ้น 28.4% ส่วนแบ่งตลาด 40.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 13,447 คัน เพิ่มขึ้น 13.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.1%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 25,400 คัน โตโยต้า 12,012 คัน - อีซูซุ 7,531 คัน - มิตซูบิชิ 3,483 คัน – ฟอร์ด 1,850 คัน – นิสสัน 524 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 164,823 คัน เพิ่มขึ้น 18%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 75,268 คัน เพิ่มขึ้น17.2% ส่วนแบ่งตลาด 45.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 64,591 คันเพิ่มขึ้น 31.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 10,295 คัน ลดลง 9.9% ส่วนแบ่งตลาด 6.2%