ความหลากหลายที่สร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง
และขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมยานยนต์
ท่ามกลางพื้นที่การทำงานของ นิสสัน มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิก เสียงฮัมเพลงพร้อมบทสนทนา และเสียงเคาะคีย์บอร์ดเป็นจังหวะ พื้นที่อันกว้างขวางผสมผสานกับพื้นที่ทำงานแบบเปิดโล่งที่เข้ากับห้องเล็ก ๆ แบบดั้งเดิม เป็นที่ทำงานของพนักงานหลายร้อยคนที่จ้องมองหน้าจอของคอมพิวเตอร์ ในขณะที่จ้องไปยังส่วนต่าง ๆ ของ ไฟล์งาน เอกสาร และการวิเคราะห์โมเดล 3 มิติที่ซับซ้อน ในห้องประชุมเล็ก ๆ เมื่อมองผ่านกระจก มีทีมที่นั่งรวมตัวกันล้อมรอบตารางบนหน้าจอทีวี การสนทนาแบบเคลื่อนไหวของพวกเขา สะท้อนออกมาจากผนัง
ทีมวิศวกรรมการตกแต่งภายนอก จากแผนกวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นขุมพลังแห่งนวัตกรรมของนิสสัน ตั้งอยู่ในมุมที่มีแสงแดดส่องถึง หนึ่งในนั้นคือ พรรณทิพา ทองขาว หรือที่รู้จักกันในชื่อ “บิว” แม้ว่ารูปลักษณ์ภายนอกของเธอจะดูไม่ค่อยเข้ากับชุดแจ็กเก็ตยี่ห้อนิสสัน และกางเกงทรงสแล็กสีดำ แต่บิวก็แสดงบทบาทต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม ทั้งในฐานะของวิศวกร และผู้บริหารระดับกลาง เธอได้แบ่งปันเรื่องราวการเดินทางของเธอ และความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนดำเนินการโดยผู้ชาย เธอและเพื่อนร่วมงานใช้ความหลากหลายในงานของการออกแบบ และการพัฒนารถยนต์ที่ตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของผู้บริโภคในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่มากกว่าแค่การมองเห็น
บิว เข้าสู่วงการอุตสาหกรรมยานยนต์เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเป็นผู้นำทีม Exterior Trim Engineering รับผิดชอบการออกแบบ และพัฒนาชิ้นส่วนภายนอกต่าง ๆ ของรถยนต์ เช่น กระจังหน้า วัสดุตกแต่งฝากระโปรง กันชนหน้าหลัง และอุปกรณ์ตกแต่งภายนอกอื่น ๆ ทั้งนี้การพัฒนารถยนต์มีกระบวนการที่ซับซ้อนมากมาย เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนหลายพันชิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นต้องได้รับการออกแบบ และทดสอบอย่างพิถีพิถัน
สำหรับวิศวกรที่ดูแลการตกแต่งภายนอกเหมือนบิว งานของพวกเขามีมากกว่าเพียงแค่ความสวยงาม แต่เป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบ และฟังก์ชันการใช้งานที่เกินกว่าที่ตาจะมองเห็น
“การออกแบบชิ้นส่วนภายนอกมีการผสมผสานมากกว่าเพียงแค่ความสวยงาม ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประสิทธิภาพการขับขี่ และการปฏิบัติตามมาตรฐาน และกฎระเบียบของประเทศที่จะส่งออกไปก็มีความสำคัญเช่นกัน” บิวอธิบาย “ความปลอดภัยก็เป็นอีกหนึ่งข้อพิจารณาที่สำคัญ เมื่อออกแบบชิ้นส่วนต่างๆ เช่น กันชนหน้า เราต้องพิจารณาความต้านทานแรงกระแทก และไดนามิกที่เกิดจากการชนบริเวณกันชน ตลอดจนตรวจสอบให้แน่ใจว่าชิ้นส่วนต่าง ๆ มีพื้นผิวที่เรียบ และไม่มีขอบแหลมคมที่อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่ได้” บิวเสริม
ศาสตร์และศิลป์ของการออกแบบ
รถยนต์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองเทรนด์ และความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมบิวจึงติดตามเทรนด์ของยานยนต์ และข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด ในระหว่างการเดินทาง เธอสังเกตยานพาหนะบนท้องถนนอย่างละเอียด โดยคำนึงถึงสไตล์ และตัวเลือกต่าง ๆ ของรถยนต์รุ่นต่าง ๆ
“ในขณะที่เดินทาง บิวได้ดูรถที่คนในประเทศหรือภูมิภาคต่าง ๆ ขับกัน สีหรือรุ่นไหนที่ได้รับความนิยม มันใช้วัสดุที่ให้ความสปอร์ต หรือเป็นโครเมียม หรือเป็นสีดำ” เธอกล่าว “ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย ความชอบด้านสไตล์ในแต่ละเซ็กเมนต์ค่อนข้างสอดคล้องกัน กลุ่มประชากรอายุน้อยมักชื่นชอบรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่าง นิสสัน อัลเมร่า ซึ่งบางครั้งก็ปรับแต่งรูปลักษณ์ภายนอกเพื่อให้ดูสปอร์ตยิ่งขึ้นหรือเป็นสีดำ”
ข้อมูลเชิงลึกดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในงานของบิว ที่ช่วยชี้แนะเธอในการพัฒนา และปรับปรุงการออกแบบรถยนต์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พวกเขาได้สร้างสรรค์รถยนต์รุ่นต่าง ๆ ที่เห็นบนท้องถนนในปัจจุบัน เข้าถึงลูกค้านิสสันหลายล้านคน รวมถึงผลงานชิ้นเอกล่าสุดของบิว คือ การสร้างสรรค์ นิสสัน นาวารา แบล็ค อิดิชั่น
โดยปกติแล้ว ขั้นตอนการพัฒนาแนวคิดจะนำโดยสำนักงานใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อมาถึงประเทศไทย ก็ใกล้จะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพัฒนาแล้ว ซึ่งตามหลักแล้วเกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นส่วนจริงและการนำไปใช้ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่นิสสันขยายธุรกิจในประเทศไทย บิวและทีมงานของเธอจึงรับหน้าที่พัฒนาแนวคิด แบล็ค อิดิชั่น การได้เห็นแนวคิดของเธอกลายเป็นจริงบนท้องถนนถือเป็นช่วงเวลาที่น่าภาคภูมิใจ โดยเน้นย้ำถึงความหลงใหล และการมีส่วนร่วมทางนวัตกรรมที่มีต่อกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของนิสสัน
เร่งสร้างนวัตกรรมผ่านการบูรณาการความหลากหลายของทีมงาน
ภายใต้การเป็นผู้นำของบิว ทีมวิศวกรรมตกแต่งภายนอกเป็นตัวแทนของการผสมผสานระหว่าง เพศ สัญชาติ อายุ และประสบการณ์ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของนิสสันในการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายเพื่อนวัตกรรม แม้ว่าการทำงานในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายเช่นนี้จะนำมาซึ่งความท้าทาย บิวเล่าว่าเมื่อเราเอาชนะได้แล้ว เราจะได้รับสิ่งดี ๆ อีกมากมาย
“ด้วยสมาชิกในทีมที่มาจากภูมิหลัง เพศ และประสบการณ์ที่หลากหลาย ทุกคนจึงมีมุมมองที่ไม่เหมือนกัน บางครั้งมุมมองที่แตกต่างกันก็เหล่านี้อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง หรืออคติโดยไม่รู้ตัว โดยอาจเกิดขึ้นจากภูมิหลัง หรือความเชื่อ” บิว กล่าว “การรับฟังมุมมองของพวกเขาอย่างกระตือรือร้น ถามคำถาม มีส่วนร่วมในการสนทนานอกเวลางานบ้าง และเชื่อมต่อกับพวกเขาในฐานะปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญ”
ที่นิสสัน วัฒนธรรมของความหลากหลาย และการไม่แบ่งแยกสะท้อนให้เห็นจากจำนวนผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับผู้นำทั่วอาเซียน โดยมีทั้งผู้จัดการ และผู้บริหารระดับสูงหลายร้อยคนที่เป็นสุภาพสตรี สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของบริษัทในการส่งเสริม และสร้างสถานที่ทำงานที่ไม่แบ่งแยก ทุกคนมีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จ และความหลากหลายไม่ได้เป็นเพียงแค่คำศัพท์ทั่วไป นิสสันยังมุ่งมั่นที่จะยกระดับด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งพนักงานทุกคนสามารถเติบโตและเป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดีที่สุดของเค้าเหล่านั้นได้
เราทุกคนทำได้
ในโลกของวิศวกรรมยานยนต์ มีความคล้ายกับสิ่งที่บิวชี้ให้เห็น เส้นทางสู่ความหลากหลายทางเพศยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ในสาขาที่ผู้ชายยังคงมีอิทธิพลในแบบดั้งเดิม เช่น ด้านเทคโนโลยี และด้านยานยนต์ การบรรลุความเท่าเทียมทางเพศถือเป็นเส้นทางที่ท้าทาย ความแตกต่างนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงอุตสาหกรรมเหล่านี้เพียงอย่างเดียว ในหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน ผู้หญิงยังคงมีบทบาทด้านการบริหารจัดการไม่มากนัก โดยมีผู้ชายซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวในสัดส่วนที่สูงกว่า
“บิวได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นในสาขาวิศวกรรมตั้งแต่เริ่มต้นอาชีพนี้เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว ก่อนหน้านี้ไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลจะถูกส่งเสริมเพื่อรับการเลื่อนตำแหน่ง หรือโอกาสในการพัฒนาเนื่องจากอคติทางเพศ ตอนนี้เป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้เห็นผู้หญิงมีบทบาทเป็นผู้นำเพิ่มมากขึ้นในภาคส่วนที่ครั้งหนึ่งเคยครองสัดส่วนโดยผู้ชาย” เธอกล่าว “อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความก้าวหน้าเช่นนี้ แต่ทัศนคติแบบเหมารวม และอคติยังมีอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมความหลากหลาย และการไม่แบ่งแยกในสถานที่ทำงานของเราต่อไป และมุ่งมั่นที่จะเป็นตัวแทนของผู้หญิงในตำแหน่งผู้นำให้มากขึ้น”
เมื่อถูกถามถึงวิธีส่งเสริมให้มีตัวแทนผู้หญิงในสาขาต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีและวิศวกรรมมากขึ้น เธอตอบอย่างชัดเจนว่า “เราต้องแน่ใจว่าไม่มีอุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การใช้ภาษาที่เป็นกลางทางเพศในคำบรรยายลักษณะงาน สำหรับบทบาทหน้าที่ที่มักจะจ้างแต่ผู้ชาย สิ่งนี้สามารถขยายขอบเขตการค้นหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมได้ไม่ว่าจะเพศใด”
ในขณะที่เราเฉลิมฉลองวันสตรีสากลในงานวิศวกรรม เราได้ให้ความสำคัญกับบุคคลที่เป็นเหมือนบิว ซึ่งการเดินทางของเธอเป็นแรงบันดาลใจ และปูทางให้วิศวกรหญิงรุ่นต่อไปให้กล้าฝัน และกล้าที่จะเป็นผู้นำ
“หลังจากทำงานด้านวิศวกรรมมา บิวรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่ผู้หญิงทำไม่ได้ วิศวกรรมไม่มีขอบเขตทางเพศ ใคร ๆ ก็สามารถประกอบอาชีพนี้ได้ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม” บิวกล่าว