เปิดมุมมองนักออกแบบรถยนต์ต้นแบบนิสสัน

ที่สร้างสรรค์เพื่อเข้าไปนั่งในใจลูกค้า

 

การออกแบบผลิตภัณฑ์คือการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผ่านแนวทางอันชาญฉลาด และการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของนิสสันที่มุ่งมั่น ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

แนวคิดของการยึดถือลูกค้าเป็นศูนย์กลางนี้สะท้อนอยู่ในงาน เจแปน โมบิลิตี้ โชว์ ปี 2023 ที่ซึ่ง นิสสันได้เผยโฉมรถยนต์ต้นแบบ 5 รุ่น ไฮไลท์ คือรูปโฉมที่สวยงามในแบบฟิจิตอล (phygital) หรือการผสมผสานระหว่างโลกจริง และโลกเสมือนเข้าด้วยกัน (physical + digital) และการออกแบบฟังก์ชันการใช้งานให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้ใช้งานแต่ละประเภท ตั้งแต่ นักเดินทางรักษ์โลก ไปจนถึง นักเล่นเกมมืออาชีพที่ต้องการประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดทั้งทางออนไลน์ และออฟไลน์ ผลลัพธ์ที่ได้คือ สุดยอดรถยนต์ต้นแบบทั้ง 5 รุ่นที่สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

 

วุงกยู ฮัน หัวหน้านักออกแบบภายนอกของรถยนต์ต้นแบบไฮเปอร์ พังก์ (Woonggyu Han, Lead Exterior Designer of the Hyper Punk Concept) รถยนต์ครอสโอเวอร์ไฟฟ้าขนาดกะทัดรัดสไตล์ไซเบอร์พังก์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักสร้างคอนเท้นท์ และศิลปิน ให้คำนิยามไว้ได้อย่างลงตัว

“การนำเสนอบุคลิกที่แตกต่างกันมาใช้คือหัวใจสำคัญของอาชีพนักออกแบบ คุณต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างถ่องแท้และคิดเสมอว่าตัวเองคือผู้ใช้งานจริง”

รับชมวิดีโอที่นี่ เพื่อเปิดมุมมองที่นักออกแบบเข้าถึงรถยนต์ต้นแบบแต่ละรุ่น รวมถึงวิธีทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และการนำประสบการณ์และแรงบันดาลใจมาใช้ในงานออกแบบ

 

จุดเชื่อมระหว่างนักออกแบบและผู้ใช้งาน

มีคำกล่าวว่า หากต้องการเข้าใจใครสักคนอย่างถ่องแท้ ให้ลองขับรถของเขา หากเราต้องการรู้จักใครสักคน เราต้องลองเป็นคน ๆ นั้น ซึ่งนักออกแบบรถยนต์ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อหาคำตอบเหล่านี้

“เมื่อเราออกแบบ เราต้องการเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทำให้เราต้องคิดถึงฟังก์ชันการใช้งานเป็นหลัก” จื้ออิง เฉิน ฝ่ายออกแบบนิสสันประเทศจีน ทีมออกแบบไฮเปอร์ แอดเวนเจอร์ (Ziying Chen - Nissan Design China, Hyper Adventure design team)

“ฉันเชื่อว่ารถยนต์คือตัวเชื่อมที่นำพาผู้คนไปยังจุดหมายปลายทาง หรือมาพบปะกัน ฉันมักจินตนาการว่าพวกเขาจะขับรถไปที่ไหน” คเยฮยอน อัน ฝ่ายออกแบบนิสสันยุโรป ทีมออกแบบไฮเปอร์ เออร์เบิร์น (Kyehyun Ahn, Nissan Design Europe, Hyper Urban design team)

“สิ่งสำคัญคือต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ และต้องไปยังสถานที่ต่างๆ และสัมผัสประสบการณ์เหล่านั้น” ไดอิ ซาโต้ ศูนย์ออกแบบระดับโลกของนิสสัน ทีมออกแบบไฮเปอร์ ทัวร์เรอร์ (Dai Sato, Global Design Center, Hyper Tourer design team)

 

แรงบันดาลใจจากประสบการณ์

ผลของการทำความเข้าใจลูกค้าทำให้รถยนต์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเหมาะกับไลฟ์สไตล์ และความต้องการของผู้ใช้ นอกจากผู้ออกแบบสามารถตระหนักถึง "การใช้งาน หรือ function" ของรถยนต์ได้ แล้วในเรื่อง "รูปลักษณ์" ล่ะ? พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจด้านสุนทรียภาพจากที่ไหน? สีและรูปทรงมีที่มาอย่างไร?

"ผมหลงรักรถยนต์เพราะวัฒนธรรมรถยนต์ของญี่ปุ่นในยุค 80 และ 90 การย้ายมาญี่ปุ่นทำให้ผมนึกถึงช่วงเวลานั้นอีกครั้ง แม้ว่าไฮเปอร์ ฟอร์ซ จะเป็นซุปเปอร์คาร์ไฟฟ้าล้ำยุค แต่ผมอยากใส่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อยลงไปเพื่อระลึกถึงรถยนต์สมรรถนะสูงระดับตำนานของนิสสันที่ผ่านมา" มาร์คัส ควอช ศูนย์ออกแบบระดับโลกของนิสสัน ทีมออกแบบไฮเปอร์ ฟอร์ซ (Marcus Quach, Global Design Center, Hyper Force design team)

“เวลาที่ผมไปโตเกียว รู้สึกว่าผู้คน และบรรยากาศจะแตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับพื้นที่ซึ่งยูกิ เป็นตัวแทนผู้ใช้งาน มาจากย่านชิบูย่า คุณจะเห็นได้จากการออกแบบไฮเปอร์ พังก์ (Hyper Punk) ที่สะท้อนตัวตนได้อย่างชัดเจน และเท่ ไม่เหมือนใคร” วุงกยู ฮัน ทีมออกแบบไฮเปอร์ พังก์ ศูนย์ออกแบบระดับโลกของนิสสัน กล่าว

 

มากกว่ารูปลักษณ์

รถยนต์ต้นแบบในซีรี่ย์ไฮเปอร์ สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของนิสสันที่มีต่ออนาคตของยานยนต์ ทั้งการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า การเชื่อมต่อ และความอัจฉริยะ ในมุมมองของนักออกแบบแล้ว รถยนต์ในอนาคตควรมีคุณค่าจากการออกแบบด้านใดบ้าง

“ความยั่งยืนสอดคล้องกับแนวคิดของการไร้ซึ่งกาลเวลา งานออกแบบที่ดีจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น การยืดอายุของการใช้งานรถยนต์คือวิธีที่ยั่งยืนที่สุด เพราะเป้าหมายของเราคือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นักออกแบบอยากสร้างสรรค์รถยนต์ที่จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนได้นาน ๆ”  คเยฮยอน อัน (ฝ่ายออกแบบนิสสันยุโรป) ทีมออกแบบไฮเปอร์ เออร์เบิร์น

"ฉันอยากเป็นนักออกแบบสถาปัตยกรรม สมัยที่ยังเรียนด้านการออกแบบในมหาวิทยาลัย ฉันเริ่มคิดถึงคนอื่น จากนั้นมาจึงไม่เพียงแต่ออกแบบเพื่อสไตล์เท่านั้น แต่ยังต้องเปี่ยมไปด้วยประโยชน์ใช้สอย - จื้ออิง เฉิน ฝ่ายออกแบบนิสสัน ประเทศจีน ทีมออกแบบไฮเปอร์ แอดเวนเจอร์

“การออกแบบพื้นที่แบบโมดูลาร์เป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากทุกส่วนเคลื่อนไหวเพื่อการปรับเปลี่ยนพื้นที่ ถือเป็นการเปลี่ยนข้อจำกัดให้เป็นโอกาส เปลี่ยนปัญหาให้เป็นดีไซน์ที่สวยงาม”  เซบาสเตียน เฆซุส (ฝ่ายออกแบบนิสสันยุโรป) ทีมออกแบบไฮเปอร์ เออร์เบิร์น (Sebastien Jesus, Nissan Design Europe, Hyper Urban design team)