สัมภาษณ์วิศวกร GR Company

ณ Fuji Speed Way(FSW)

 

วิศวกร GR Company ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความเป็นมาของ GR Company ว่าเป็นอย่างไร ทำหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างจาก Motor Sport อย่างไรบ้าง โดยมี คุณทัตสึยะ มิโยะชิ (Tatsuya Miyoshi) ผู้อำนวยการ แผนกพัฒนารถ GR Super Taikyu ของ GR Company ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนงานเกี่ยวกับ GR โดยเฉพาะ และคุณยาซึโนริ ซึเอะซะวะ (Yasunori Suezawa) หัวหน้าวิศวกร แผนกพัฒนารถ GR ทำงานด้าน Product Planning ของ GR Company ทำหน้าที่คอยช่วยเหลือในการเข้าแข่งขันที่บุรีรัมย์เมื่อธันวาคมปีที่แล้ว และปีก่อนหน้านั้น เป็นผู้ให้ข้อมูล

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง GR Company เพื่ออะไร

MIYOSHI : เหตุผลหรือที่มาที่ไปของการจัดตั้ง GR Company นะครับ แน่นอนว่า GR Company จะพัฒนารถรุ่น GR และมีบทบาทในการพัฒนารถให้ดีขึ้นผ่านการเข้าร่วมแข่งขันมอเตอร์สปอร์ต เพราะว่าสนามแข่งขันที่มีเงื่อนไขในการขับขี่ที่เข้มงวดมากกว่า จะได้ข้อมูลที่ไม่สามารถได้จากสนามทดสอบหรือห้องทดสอบในบริษัท เพราะว่าเงื่อนไขในการขับขี่ที่เข้มงวดมากกว่า จะทำให้เราได้พัฒนาเทคโนโลยีและรถ GR ให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ และรถที่ได้รับการพัฒนาจะช่วยเพิ่มแฟนรถยนต์ที่ชอบการแข่งขันและชอบมอเตอร์สปอร์ตมากขึ้น

การก่อตั้งบริษัทใหม่นี้ มีกิจกรรมอะไรบ้าง

MIYOSHI : ขอบคุณครับ ที่ผ่านมาเราเข้าร่วมมอเตอร์สปอร์ตหลากหลาย เช่น WEC (World Endurance Championship), WRC (World Rally Championship) ในระดับโลก และ Super Formula, Super GT ในประเทศญี่ปุ่นที่เราได้เข้าร่วม ทำให้สร้างแฟนในกลุ่มมอเตอร์สปอร์ตเพิ่มมากขึ้น และเราได้เข้าร่วมแข่งขัน Super Taikyu ครั้งแรกในปี ค.ศ.2021 เพื่อทดสอบรถเครื่องยนต์ไฮโดรเจนและ GR-86ที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดพิเศษ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนารถให้ดีขึ้นจากข้อมูลของสนามแข่ง Super Taikyu ผมอยากจะแนะนำเพิ่มมากขึ้น ขอเวลาอธิบายเพิ่มเติมนะครับ

นอกจากนี้ เรายังพัฒนา GR-86 และ Yaris เพื่อเข้าแข่งขัน One Make Race เพื่อเป็นการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายของผู้ชื่นชอบมอเตอร์เพิ่มมากขึ้น กล่าวคือไม่เพียงแต่ชนะการแข่งขัน แต่ต้องการให้มีแฟนคลับให้มีการขยายวงที่กว้างมากขึ้น และเพิ่มผู้ใช้รถมอเตอร์สปอร์ตมากขึ้น

 

 

 

GR Company กับ Rookie Racing Team มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

MIYOSHI : Rookie Racing Team จะเข้าแข่งขันและ maintenance รถแข่งในสนามแข่งต่าง ๆ เช่น Super Taikyu ภายใต้ชื่อทีม Rookie Racing Team ในขณะที่ GR Company จะร่วมกับ Rookie Racing Team ในการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น Corolla เครื่องยนต์ Hydrogen จะถูกนำไปขับขี่ในสนามแข่งเพื่อพัฒนารถให้ดีขึ้น

นอกจากนี้ ใน Rookie Racing Team มีทั้งนักแข่งมืออาชีพ และนักแข่ง Gentleman ทั่วไปเช่น MORIZO เพื่อทดสอบรถ GR ของเราครับ

ตอนนี้มีอะไรที่ได้จากการพัฒนารถในสนามแข่งมาใช้จริงในรุ่นใหม่บ้างไหมครับ

MIYOSHI : แน่นอนว่าเทคโนโลยีของรถไฮโดรเจนโคโรลล่ายังไม่ออกสู่ตลาดก็จริงอยู่ ขอยกตัวอย่าง GR-86 STQ Class ที่กำลังพัฒนาอยู่ หรือรถรุ่นอื่นนอกเหนือจาก GR-86 ก็กำลังอยู่ระหว่างพัฒนา เราได้เทคโนโลยีมา Feed back กับชิ้นส่วน หรือบางจุดของรถยนต์ที่ออกสู่ตลาดแล้ว เพื่อให้รถเหล่านั้นดีขึ้น ใช้ง่ายขึ้น

การเลือกรถรุ่นที่จะมาทำ เวอร์ชั่น GR มีเกณฑ์อย่างไรครับ

SUEZAWA : ครับ เช่น GR-Corolla หรือ GR-Yaris ต่างก็เป็นรถรุ่นเดิมอยู่แล้วว่าเป็นรถรุ่นCorolla หรือ Yaris เราได้พัฒนาเกรดพิเศษคือ GR ขึ้นมาให้เป็นเกรดเฉพาะและมีความพิเศษเหมาะกับมอเตอร์สปอร์ต คือเครื่องยนต์ก็มีกำลังมากขึ้น สมรรถนะตัวถังมีความแกร่งมากขึ้น ช่วงล่างหรือคัตซีก็มีสมรรถนะดีขึ้น หรือรุ่น Yaris ก็มีเกรด 4WD ออกมาเป็นต้น นอกจากนั้น ยังมี GR-Supra หรือ GR-86 ที่เป็นรถรุ่นที่มีเฉพาะเกรด GR ก็มีครับ

MORIZO ได้มีส่วนร่วมในพัฒนารถมากขึ้นกว่าเดิม และร่วมในขั้นตอนไหนบ้าง รวมทั้งได้มีส่วนช่วยกันพัฒนารถ GR หรือไม่

MIYOSHI : ท่านเข้ามาร่วมตั้งแต่รถต้นแบบ เพราะท่านเป็น Master Driver ที่จะร่วมกันวิเคราะห์รถ ท่านจะขับรถจนพัง แล้วเรากลุ่มวิศวกรก็เข้ามาซ่อม พอซ่อมเสร็จท่านก็จะขับจนพังอีก ครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อพัฒนารถให้ดีขึ้น

 

 

 

รถเครื่องยนต์ Liquid Hydrogen จะเข้ามาแทนรถไฮโดรเจนก๊าซในฤดูกาลก่อนหรือไม่ แล้วในการแข่งขันต่าง ๆ จะใช้รถรุ่นนี้แทนไปเลยใช่หรือไม่

MIYOSHI : ปีที่แล้วตอนแข่ง Fuji 24 hours เป็นครั้งแรกที่เราส่งรถโคโรลล่าไฮโดรเจนเหลวลงแข่ง หนึ่งปีผ่านไป เราได้วิวัฒนาการให้รถโคโรลล่าไฮโดรเจนเหลวนี้ดีขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีรถไฮโดรเจนก๊าซอีกต่อไป เพราะไฮโดรเจนเหลว หรือไฮโดรเจนก๊าซต่างก็มีข้อดีของตัวเอง เราคิดว่าต้องพัฒนาให้แต่ละตัวดีขึ้นกว่าเดิม

มีความคืบหน้าในการทำกีฬามอเตอร์สปอร์ตให้เป็นที่แพร่หลายในทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทยหรือไม่

MIYOSHI : เมื่อปีที่แล้วและปีก่อนหน้า เราได้ส่งรถลงแข่งที่บุรีรัมย์ และสนามแข่งอื่น ๆ ซึ่งทำให้ GR Company ได้รับรู้ว่ามีแฟนตัวยงจำนวนมากในกีฬามอเตอร์สปอร์ตของไทย นอกจากนั้น Super Taikyu นี้ได้ถูกยกระดับเป็น Super Taikyu Mirai Organization (STMO) โดย MORIZO-san ก็เข้ามาเป็นประธานขององค์กรด้วย และท่านได้ให้สัมภาษณ์ว่าต้องการที่จะให้กีฬามอเตอร์สปอร์ตเป็นที่แพร่หลายในเอเชียมากขึ้น

ทั้งนี้ เพราะว่าชาวไทยช่วยให้กีฬามอเตอร์สปอร์ตเป็นที่แพร่หลาย ท่านจึงให้สัมภาษณ์เช่นนั้น และคิดว่าคงจะมีกิจกรรมต่าง ๆ ในเอเชียมากขึ้น แน่นอนว่าจะจัดการแข่งขันอย่างไร หรือเข้าร่วมการแข่งขันที่ไหน อาจจะให้ทีมของเอเชียมาแข่งที่ญี่ปุ่น ฯลฯ ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจน แต่ท่านมีความมุ่งมั่นเช่นนั้นครับ

 

 

ในความแตกต่างของ Gazoo Racing Team กับ Rookie Racing Team ต่างกันอย่างไร

MIYOSHI : Gazoo Racing Team จะเข้าแข่งขัน WEC (World Endurance Championship), WRC (World Rally Championship) ในระดับโลกในฐานะตัวแทนของโตโยต้า ในขณะที่ Rookie Racing Team จะเข้าแข่งขันในสนามแข่ง Super Taikyu เพื่อร่วมพัฒนาเทคโนโลยีของโตโยต้า และ Rookie Racing Team ยังเข้าแข่งขัน Super GT หรือ Super Formula เอง นั่นคือข้อแตกต่างของ Gazoo Racing Team ของ บ.โตโยต้า กับ Rookie Racing Team ครับ

MORIZO-san มีคนเดียว แต่ท่านก็เป็นประธานคณะกรรมการของบริษัทโตโยต้า ซึ่งเป็นเจ้าของทีม Gazoo Racing Team ด้วย แต่ท่านก็ยังเป็นเจ้าของและนักแข่งของ Rookie Racing Team ในฐานะทีมส่วนตัว (Private Team) อีกด้วยครับ แน่นอนครับการที่ MORIZO มีหลายบทบาท ก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทเรามาก ทำให้เราสามารถลองทดสอบเทคโนโลยีใน Super Taikyu ได้

ทีมไทยแลนด์มีศักยภาพที่จะมาลงแข่ง Super Taikyu ได้หรือไม่ อย่างไร ต้องรออะไรไหม

SUEZAWA : ปีที่แล้วและเมื่อปีก่อนหน้า เราได้ไปแข่งที่ประเทศไทย โตโยต้าประเทศไทยก็ได้ส่ง Gazoo Racing Team Thailand ที่มีรถโคโรลล่าเข้าร่วมแข่งขัน เราคิดว่ามีความสามารถมากพอที่จะนำรถรุ่นต่าง ๆ นั้นมาแข่งที่นี่ได้ครับ อาจจะต้องมีการปรับแต่งเล็กน้อยให้เหมาะสมกับข้อบังคับของการแข่งขันในสนามแข่งที่นี่ครับ